หมวกเซฟตี้ อุปกรณ์สำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอุบัติเหตุ อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

หมวกเซฟตี้

หมวกเซฟตี้ หรือที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หมวกนิรภัย มีไว้สำหรับสวมใส่ศีรษะ ขณะทำงาน เป็นสิ่งที่องค์กร หรือบริษัทที่ดำเนินกงานเกี่ยวกับ เครื่องจักร และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ต้องมีไว้สำหรับพนักงานสวมใส่ เพื่อป้องกันวัตถุจากที่สูงหล่นลงมาใส่ศีรษะ และช่วยปกป้องจากการลื่นล้มกระแทกพื้น เพราะหมวกเซฟตี้จะทำหน้ากระจายแรงกระแทกให้เป็นบริเวณกว้าง ช่วยดูดซับแรงกระแทกให้เบาลง ซึ่งจะช่วยให้ ลดการบาดเจ็บที่เสี่ยงถึงชีวิตได้

หมวกเซฟตี้ สำคัญอย่างไร

เนื่องจากอุบัติเหตุจากการทำงาน เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ยกตัวอย่างเช่น สิ่งของตกจากที่สูง การลื่นล้มในพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน หมวกเซฟตี้จึงมีความสำคัญในแง่ของ การช่วยลดอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นอันจะทำให้เสียชีวิตได้ เหมาะกับการสวมใส่ ในสถานที่ทำงาน ที่มีความเสี่ยงอันตราย จากสิ่งของหล่นจากที่สูง พื้นที่การทำงานที่ยังไม่เรียบร้อย โดยมีคุณสมบัติคือ ทนต่อการกระแทก การเจาะทะลุ รวมไปถึงช่วยกันกระแสไฟ้ฟ้าได้ เราจึงต้องสวมหมวกเซฟตี้ทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

ส่วนประกอบของหมวกเซฟตี้

  1. เปลือกหมวก ทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน ทำจากพลาสติก ไฟเบอร์กลาส หรืออลูมิเนียม
  2. รองในหมวก ส่วนที่ทำให้หมวกกระจายแรงกระแทกออกไปโดยรอบหมวก
  3. สายคาดศีรษะ คุณสมบัติเหนียวนิ่ม ช่วยเพิ่มความกระชับขณะสวมใส่ สามารถปรับได้ตามขนาดศีรษะ
  4. สายรัดคาง ช่วยป้องกันไม่ให้หมวกหล่นขณะสวมใส่ สามารถปรับระดับได้
  5. แถบซับเหงื่อ เพื่อป้องกันมิให้เหงื่อไหลเข้าตาขณะปฏิบัติงาน

หมวกเซฟตี้ใช้กับงานประเภทใดบ้าง

  • หมวกเซฟตี้สำหรับใช้กันไฟฟ้าแรงสูง ตัวหมวกมีพลาสติก และแบบไฟเบอร์กลาส เป็นส่วนประกอบ เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้า เช่น งานช่างไฟฟ้า ช่างเดินสายไฟ
  • หมวกเซฟตี้สำหรับงานที่ต้องทำในบริเวณที่มีความร้อน ตัวหมวกทำด้วยวัสดุจากโลหะ เหมาะสำหรับงานขุดเจาะน้ำมัน หรือช่างเชื่อม โดยที่ตัวหมวกไม่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้
  • หมวกเซฟตี้ที่สามารถทนความร้อนสูง ตัวหมวกมีพลาสติก และแบบไฟเบอร์กลาส เป็นส่วนประกอบ  เหมาะสำหรับใช้ในงานดับเพลิง และงานเหมือง โดยที่ตัวหมวกมีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถทนไฟ ต้านทานการลุกไหม้ได้
  • หมวกเซฟตี้สำหรับการใช้งานทั่วไป ตัวหมวกมีพลาสติก และแบบไฟเบอร์กลาส เป็นส่วนประกอบ ใช้ในงานทั่วไป หรือในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง งานติดตั้ง พนักงานขนส่งสินค้า
กลับสู่สารบัญ

หมวกเซฟตี้เหมาะกับงานแบบไหนบ้าง

ในพื้นที่ปฏิบัติงาน เราไม่จำเป็นต้องสวมหมวกเซฟตี้ตลอดเวลาก็ได้ หากประเมินความเสี่ยงแล้วว่า พื้นที่ปฏิบัติงานนั้น ไม่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับเราได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับของแต่ละองค์กร ที่จะแตกต่างกันไป ไม่มีหมวกเซฟตี้รุ่นใด ที่จะสมบูรณ์แบบสำหรับทุกคน

เกณฑ์การเลือกหมวกเซฟตี้ มีดังนี้

  • เลือกใช้หมวกเซฟตี้ ที่มีขนาดพอดีกับผู้สวมใส่ และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฎิบัติงาน
  • หมวกเซฟตี้ต้องมีสีสันที่เด่นชัด มีน้ำหนักเบา
  • ควรมีการเปลี่ยนหมวกเซฟตี้ใหม่ หากมีรอยร้าวจากการได้รับการกระแทกมาแล้ว หรือการสัมผัสกับอากาศที่เป็นพิษ
  • หมวกเซฟตี้ต้องได้มาตรฐานรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และเป็นไปตามข้อกำหนดของสถาบันที่น่าเชื่อถือ
  • เลือกใช้หมวกเซฟตี้ให้เหมาะกับลักษณะงาน

ในการเลือกซื้อสินค้า เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน แบรนด์สินค้าที่น่าเชื่อถือก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น โอทีอินเตอร์เทรด ได้ทำการเลือกวัสดุที่ป้องกันอันตราย ให้กับศีรษะของคุณได้ ทนทานต่อแรงกระแทก และถ้าเราก็มีให้เลือกถึง 3 รุ่น ให้เหมาะสมตอบโจทย์ทุกการใช้งาน

1. หมวกเซฟตี้ S-GUARD

หมวกเซฟตี้ S-GUARD เหมาะสำหรับป้องกันอันตรายที่เกิดจากเศษวัสดุ หรือสิ่งของตกใส่ศีรษะ มีทั้งแบบปรับเลื่อน และปรับหมุน ผลิตจาก ABS ที่มีความทนทาน และสวยงาม และ HDPE ในการเลือกหมวกเซฟตี้ก็มีความสำคัญ เพราะหมวกมีหลายรูปแบบ เราจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่สุด

หมวกเซฟตี้ S-GUARD J1 (Safety Helmet) ออกแบบเพื่อ เพิ่มความสบายในการสวมใส่ สวยงาม ดูดี ทั้งยังระบายอากาศได้ดี ระหว่างการสวมใส่หมวกเซฟตี้รุ่นนี้อีกด้วย ขอบหมวกมีรางรอบเพื่อรองรับน้ำฝน และหมวกเซฟตี้ S-GUARD

  • ผ่านมาตรฐาน : มอก. 368-2554
  • ตัวหมวกเซฟตี้ผลิตจาก ABS และมีรองใน : 6 จุด
  • ระบบล็อค สามารถปรับเลื่อน หรือปรับหมุนได้
  • หมวกเซฟตี้ มีทั้ง 7 สี คือ ขาว เหลือง น้ำเงิน ฟ้า เขียว ส้ม แดง

2. หมวกเซฟตี้ MAPLE

หมวกเซฟตี้ สำหรับป้องกันอันตรายที่เกิดจากเศษวัสดุ สิ่งของตกใส่ศีรษะ และกันแดดขณะปฏิบัติงาน เหมาะสำหรับวิศวกร ผู้คุมไซท์งานกลางแจ้ง ผู้รับเหมา พนักงานขับรถกลางแจ้ง พนักงานขับรถในคลังสินค้า

  • ตัวหมวกผลิตจาก ABS พลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง ทนทานพิเศษ
  • หมวกเซฟตี้ ผ่านมาตรฐาน มอก. 368-2554 ชั้นคุณภาพ C (THAI INDUSTRIAL STANDARD TIS 368-2554 CLASS C )
  • มีช่องระบายอากาศหน้า และหลัง รูปแบบทันสมัย
  • มีสายคาดศีรษะผลิตจากพีวีซี ปรับขนาดได้จาก 500 มม. ถึง 600 มม.
  • ตัวยึดเปลือกหมวกผลิตจาก PE พอลิเอทิลีน คือ พลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง
  • มีแถบซับเหงื่อด้านใน Sweat Band ผลิตจากผ้าใบผสม PVC มีความอ่อนนุ่ม
  • ไม่ระคายเคืองผิว และกันเหงื่อไหลเข้าตาขณะทำงาน
  • สายรองศีรษะด้านในผลิตจากวัสดุไนล่อน 23 มม. x 1 มม.
  • สายรัดคาง Elastic กว้าง 20 มม. ปรับขนาดได้
  • รองในจำนวน 6 จุด
  • ปรับความกระชับหมวกด้วยตัวล็อค แบบปรับเลื่อน / แบบปรับหมุน

3. หมวกเซฟตี้ GENIUS

หมวกเซฟตี้ GENIUS เหมาะสำหรับป้องกันอันตรายที่เกิดจากเศษวัสดุ หรือสิ่งของตกใส่ศีรษะ มีทั้งแบบปรับเลื่อน และปรับหมุน วัตถุดิบ ABS ที่มีความทนทาน และมีสีสวย และ HDPE หมวกเซฟตี้ที่ดีต้องได้มาตรฐานรับรอง เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติงานสวมใส่แล้ว จะรู้สึกปลอดภัย และในการเลือกหมวกเซฟตี้ก็มีความสำคัญ เพราะหมวกมีหลายรูปแบบ เราจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่สุด

  • หมวกเซฟตี้ GENIUS (Safety Helmet)
  • ผ่านมาตรฐาน: มอก. 368-2554
  • หมวกเซฟตี้ผลิตจาก HDPE / ABS และมีรองใน: 6 จุด
  • ระบบล็อคสามารถปรับเลื่อน หรือปรับหมุน
  • หมวกเซฟตี้สี 5 สี คือ ขาว เหลือง น้ำเงิน เขียว ส้ม

จะเห็นได้ว่า หมวกเซฟตี้มีให้เลือกมากมายหลายสี ซึ่งแต่ละสี บอกได้ถึงตำแหน่ง หน้าที่ และมีความหมายในตัวเองทั้งสิ้น

  • สีแดง หรือสีส้ม – สำหรับเจ้าหน้าที่งานดับเพลิง ช่างเชื่อม และการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน
  • สีเขียว – สำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
  • สีเหลือง – สำหรับพนักงานทั่วไป
  • สีน้ำเงิน – สำหรับช่างไฟฟ้า ช่างไม้ และเจ้าหน้าที่เทคนิคอื่นๆ
  • สีขาว – สำหรับวิศวกร ผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้เยี่ยมชม
กลับสู่สารบัญ

การดูแลรักษาหมวกเซฟตี้

  1. ควรทำความสะอาดทั้งตัวหมวก และอุปกรณ์ ทุกครั้ง หลังใช้งาน โดยใช้น้ำสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หรือทุกวัน
  2. เก็บหมวกเซฟตี้ในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่วางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้วัสดุพลาสติกเสื่อมสภาพเร็ว
  3. ไม่ควรนำหมวกเซฟตี้ที่มีรอยแตกร้าวมาใช้งาน
  4. ไม่โยนหมวกเซฟตี้จากที่สูง เพราะตัวหมวกอาจเสียหายได้
  5. ไม่ควรใช้สารเคมี หรือสารละลายทำความสะอาดหมวกเซฟตี้ เพราะจะทำให้วัสดุภายในเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ

ข้อแนะนำความปลอดภัยในการใช้หมวกเซฟตี้

  1. ห้ามใช้หมวกเซฟตี้ ที่ไม่มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม
  2. ต้องสวมหมวกเซฟตี้ให้กระชับพอดีกับศีรษะ สายรัดคางต้องอยู่บริเวณใต้คางเท่านั้น
  3. ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าแรงสูง ต้องสวมหมวกเซฟตี้ ที่สามารถป้องกันไฟฟ้าได้
  4. ตรวจสอบหารอยร้าว รอยชำรุด และการเสื่อมสภาพต่างๆ ก่อนนำมาใช้งาน
  5. ห้ามมีการดัดแปลงสภาพหมวกเซฟตี้ ซึ่งอาจทำให้สูญเสียคุณภาพในการป้องกันศีรษะ
  6. เมื่อสวมใส่หมวกเซฟตี้ จะลดประสิทธิภาพในการได้ยินเสียง และบดบังทัศนียภาพในการมองเห็น ดังนั้น ผู้สวมใส่จำเป็นต้องมีสติในการทำงานตลอดเวลา
กลับสู่สารบัญ

สรุป

จะเห็นได้ว่าหมวกเซฟตี้นั้น เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยลดอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะทำงานได้ ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับหมวกเซฟตี้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และการเลือกหมวกนิรภัยที่ดี ต้องเลือกที่เหมาะสมกับงานที่ทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน และต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด สวมใส่หมวกนิรภัยทุกครั้ง ที่ต้องทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และอันตรายจากสิ่งของตกใส่ศีรษะ